ผู้เขียน หัวข้อ: จัดสรรบ้านขาย: อยากซื้อบ้านร่วมกับแฟน 4 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ  (อ่าน 201 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 616
    • ดูรายละเอียด
สำหรับคู่รักที่คบหากันมานานพอสมควร จนถึงเวลาตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน “ซื้อบ้านร่วมกับแฟน” จึงไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ เพราะนี่อาจจะเป็นเรือนหอในอนาคต หรือหากความสัมพันธ์อาจไม่ถึงฝั่งฝันในระยะยาว ดังนั้นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อบ้านร่วมกับแฟนจึงแตกต่างจากการซื้อเพื่ออยู่อาศัยกับครอบครัวใหญ่หรือเพื่ออยู่เองคนเดียวมากพอสมควร

ที่อยู่อาศัยแบบไหนเหมาะกับการซื้อบ้านร่วมกับแฟน

การซื้อบ้านร่วมกับแฟนนั้น นอกจากเรื่องปัจจัยภายนอกอย่าง ราคา ทำเลที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้านแล้ว รูปแบบของที่อยู่อาศัยก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อด้วยเช่นกัน

1. บ้านเดี่ยว ที่อยู่อาศัยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนที่มองถึงการขยายครอบครัวขนาดใหญ่ในอนาคต ด้วยขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 50 ตารางวา จำนวน 2-3 ชั้น สามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้ 4-5 คน อย่างสบาย ๆ ไม่อึดอัด แถมยังมีพื้นที่ส่วนตัวแก่สมาชิกในครอบครัวมากพอสมควรอีกด้วย

2. ทาวน์โฮม ผู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนที่ตั้งใจว่าจะมีลูกสัก 1-2 คน ทาวน์โฮมนับว่าตอบโจทย์ได้ดี ด้วยขนาดพื้นที่โดยรวมที่ไม่ใหญ่จนเกินไป เล็กกว่าบ้านเดี่ยว มีพื้นที่ 2-3 ชั้น จึงเหมาะกับครอบครัวขนาดเล็กที่อยู่อาศัยกันแค่ พ่อ แม่ ลูก

3. คอนโด สำหรับผู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน ที่ตั้งใจว่าจะไม่มีลูก ต้องการพื้นที่ขนาดกระทัดรัด ดูแลรักษาง่าย ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ก็สามารถตอบโจทย์ได้ดี อีกทั้งทำเลที่ตั้งคอนโดส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง และรายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน แหล่งงาน

ขณะที่บ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมส่วนใหญ่มักจะมีทำเลอยู่ชานเมือง การซื้อบ้านร่วมกับแฟนที่เลือกพักอาศัยในคอนโดจึงตอบโจทย์คู่รักที่ต้องการพักอาศัยในเมืองเป็นหลัก

ซื้อบ้านหลังแรก เลือกแบบไหนให้ตรงใจ ซื้อได้จริง

ซื้อบ้านร่วมกับแฟนต้องกู้ร่วมอย่างไรหากยังไม่ได้แต่งงานกัน

นอกเหนือจากรูปแบบที่พักอาศัยที่คู่รักต้องตัดสินใจร่วมกันแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญสำหรับการซื้อบ้านร่วมกับแฟนคือ การกู้ร่วม สำหรับผู้ที่ยังไม่แต่งงานกัน ในปัจจุบันยังไม่สามารถกู้ร่วมได้ ยกเว้นว่า หมั้นและเตรียมพร้อมที่จะแต่งงาน

ส่วนในกรณีที่แต่งงานแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียน ก็สามารถกู้ร่วมได้โดยแสดงหลักฐานอื่น ๆ เช่น ถ้ามีลูกด้วยกันให้แสดงใบเกิดที่ระบุชื่อพ่อแม่ หรือทะเบียนบ้านที่แสดงว่าปัจจุบันอยู่ด้วยกัน

ข้อดีของการกู้ร่วมสำหรับผู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนคือ ทำให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น สามารถเพิ่มวงเงินกู้ได้มากกว่าเดิม มีระยะเวลาผ่อนชำระได้มากขึ้น ช่วยกระจายความเสี่ยง สร้างความน่าเชื่อถือต่อธนาคาร

โดยการกู้ร่วม คือ การทำสัญญายื่นกู้ทรัพย์สินชิ้นเดียวกัน คล้ายกับการค้ำประกันให้อีกฝ่าย เพื่อให้ทางธนาคารเห็นว่าจะมีอีกคนมารับผิดชอบในการชำระหนี้ และมีความสามารถในการผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนได้ตามสัญญา ซึ่งจะทำให้การอนุมัติการขอสินเชื่อง่ายขึ้น


สิ่งสำคัญที่ผู้กู้ร่วมต้องรู้และเตรียมพร้อม

1. คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม
2. ต้องมีหลักฐานรายได้ที่ชัดเจน
3. ต้องมีประวัติการชำระหนี้ที่ตรงต่อเวลา
4. ต้องมีรายได้เพียงพอที่จะร่วมรับผิดชอบภาระหนี้กับธนาคาร
5. ผู้กู้ร่วมควรเป็นบุคคลในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หรือ สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนกรณีของคู่รักที่ยังไม่จดทะเบียนสมรสนั้น อาจมีปัญหาในการโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง ทำให้การยื่นกู้ร่วมอาจจะมีความล้าช้ากว่าปกติ หรือเรื่องดำเนินการช้าหากไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้


ซื้อบ้านร่วมกับแฟน หากเลิกรากันแล้วแบ่งกันอย่างไร

สิ่งที่ทุกคู่รักต้องรู้…ก่อนกู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนคือ กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เพราะปกติการกู้ร่วม จะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ใช้หลายคนมากู้ร่วมได้ และการกู้ร่วมโดยใส่ชื่อทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในบ้านร่วมกัน

การถือกรรมสิทธิ์ร่วม มีเรื่องที่ควรรู้และเข้าใจสำหรับคู่รักที่ตกลงจะกู้ร่วมคือ ภายหลังหากต้องการขายบ้าน จะกระทำได้เมื่อได้รับการยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม หรือในกรณีจะทำการยกกรรมสิทธิ์ใครคนหนึ่งคนใดในผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว การโอนนั้นทางกรมที่ดินจะถือว่าเป็นการซื้อขายบ้าน ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงค่าอากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ

ที่สำคัญคือ เมื่อถึงวันเลิกราต้องทำอย่างไร ซึ่งในกรณีการเลิกรากันนั้น วิธีการแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธีด้วยกัน คือ

1. การถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วม
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ การกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสแล้วเลิกรากัน และการกู้ร่วมกับคู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วเลิกรากัน สำหรับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสแต่เลิกรากันนั้น ต้องจดทะเบียนหย่าให้เรียบร้อย เพื่อนำใบหย่า และสัญญาจะซื้อจะขายไปขอถอนชื่อคู่รักออกจากสัญญากู้ที่ทำไว้กับธนาคาร เพื่อให้ธนาคารเปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสัญญาเงินกู้ใหม่

ส่วนกรณีคู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเลิกรากันนั้น การถอนชื่อคู่รักที่เลิกราออกจากการกู้ร่วมซื้อบ้านไม่ยุ่งยากเท่ากับคู่รักที่จดทะเบียนสมรส แต่ขึ้นกับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย ว่าใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ที่กู้ร่วมกัน ซึ่งจำเต้องมีการแจ้งถอดถอนชื่อออกกับทางเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ทำสัญญากู้ไว้ และแจ้งต่อธนาคารว่าต้องการให้ใครผู้ถือกรรมสิทธ์


2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว
สำหรับทางออกนี้ ธนาคารไม่อนุมัติให้ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วมด้วยกันออก เนื่องจากประเมินแล้วว่าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คนเดียวได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อทำเรื่องขอกู้ที่อยู่อาศัยเพียงคนเดียว และ

3. ตัดปัญหาด้วยการขายทรัพย์
ถือเป็นวิธีสุดท้ายในการแก้ปัญหาแบ่งกรรมสิทธิกรณีคู่รักกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน และจำเป็นต้องเลิกราไป ซึ่งทั้งคู่ต้องมีการตกลงกันให้เรียบร้อย เพราะในการขายกรรมสิทธิ์นั้นต้องได้รับการยินยอมขายจากทั้งสองฝ่าย

ไม่ว่าความรักจะดำเนินมาถึงจุดไหน การซื้อบ้านร่วมกับแฟน จำเป็นต้องคิดให้ยาว มองอนาคตให้ไกล เพราะไม่ใช่แค่เรื่องเงินที่ต้องลงทุนเท่านั้น แต่ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่คู่รักทุกคู่ต้องนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ


จัดสรรบ้านขาย: อยากซื้อบ้านร่วมกับแฟน 4 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://realestatebb.com/