ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ความเข้าใจผิดของการใช้เครื่องปรับอากาศ ยิ่งทำ ค่าไฟยิ่งสูง  (อ่าน 246 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 616
    • ดูรายละเอียด
ปัจจุบันอากาศประเทศไทยไม่ว่าจะฤดูไหนก็ร้อนอบอ้าวอยู่เสมอ ดังนั้นทางออกที่สามารถช่วยลดร้อนได้ดี นั่นก็คือ การเปิดเครื่องปรับอากาศนั่นเอง แต่วิธีนี้ก็มักจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่กับกระเป๋าเงินตามมา เพราะยิ่งเปิดเครื่องปรับอากาศมากเท่าไหร่ค่าไฟฟ้าต่อเดือนก็ยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น วันนี้จึงอยากมาเตือนถึง 7 ความเข้าใจผิดๆ ที่อาจทำให้ค่าไฟพุ่งสูงมากว่าจะลดลง

1. ใช้แอร์เครื่องเก่าไม่ยอมเปลี่ยน

เครื่องปรับอากาศที่สามารถใช้งานได้ตามปกติ แม้จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าระบบภายในของเครื่องปรับอากาศนั้นมีความเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ยิ่งสำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปีขึ้นไป ยิ่งจะต้องมีการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซ่อมบำรุง อีกทั้งเครื่องปรับอากาศประเภทนี้ยังกินไฟมากกว่าปกติอีกด้วย ดังนั้นเมื่อคำนวณถึงความประหยัดแล้ว การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ย่อมสามารถช่วยประหยัดในระยะยาวได้มากกว่า

2. ค่า BTU สูงยิ่งดี

ค่า BTU หลายคนเข้าใจว่ายิ่งมีค่าสูงจะยิ่งทำให้บ้านเย็น แต่นั่นเป็นเพียงความเข้าใจผิด เพราะค่า BTU ที่สูงหรือต่ำจนเกินไปจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักและกินไฟมากขึ้น จึงควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับขนาดห้องที่ใช้งาน โดยสามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้

พื้นที่ห้อง (คือขนาดความกว้างxความยาว) x ค่า Cooling Load Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม

ค่า Cooling Load Estimation สามารถประเมินได้คร่าวๆ ดังนี้

ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร
ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร
ห้องครัว 900-1000 BTU/ตารางเมตร
ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร
ห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร

ทั้งนี้สูตรการคำนวณเป็นเพียงการประมาณค่า BTU ที่เหมาะสมคร่าวๆ สำหรับห้องที่มีความสูงเพดานไม่เกิน 3 เมตร หากเป็นห้องที่สูงมากกว่าหรือมีปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น จำนวนผู้ใช้งาน ทิศทางแดด จะต้องมีการเพิ่มค่า BTU ขึ้นไปด้วย

3. ตำแหน่งก่อนการติดตั้งแอร์

การเลือกตำแหน่งในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม สามารถช่วยลดการทำงานของเครื่องซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้ไม่มากก็น้อย โดยตำแหน่งที่เหมาะสมสำคัญติดตั้งเครื่องปรับอากาศคือ บริเวณที่โล่ง ไม่เป็นมุมอับ หรือบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดดจัดโดยตรง รวมทั้งไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง

4. เปิดแอร์พร้อมพัดลมทำให้เปลืองไฟ

หลายคนคิดว่าการเปิดทั้งเครื่องปรับอากาศและพัดลมไปด้วยกัน จะยิ่งทำให้เปลืองไฟ แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะการเปิดพัดลมจะช่วยทำให้ความเย็นกระจายไปทั่วถึงทั้งห้อง ช่วยลดอุณหภูมิห้องลง 1-2 องศา และที่สำคัญช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย

5. เปิดอุณหภูมิต่ำจะช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้น

ความเข้าใจว่าเริ่มเปิดเครื่องปรับอากาศอุณหภูมิต่ำๆ ก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มความเย็นให้เร็วขึ้นนั้น เป็นความคิดที่ผิดเช่นกัน เพราะไม่ว่าจะเริ่มเปิดที่อุณหภูมิเท่าไหร่ เครื่องปรับอากาศจะต้องใช้เวลาในการทำงานที่ใกล้เคียงกันทั้งหมด และยิ่งเปิดเครื่องปรับอากาศเริ่มต้นที่อุณหภูมิต่ำๆ ก็จะยิ่งทำให้เครื่องทำงานหนักและเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ

6. อุณหภูมิ 25 องศา ช่วยประหยัดไฟ

แม้ว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 25 องศาเป็นวิธีที่ดีและถูกต้องในการช่วยประหยัดไฟฟ้า แต่การดูแลตัวเครื่องซ่อมแซมและทำความสะอาด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศประหยัดไฟไปได้ในตัว

7. เปิด-ปิดบ่อยๆ ประหยัดไฟมากกว่า

แม้ว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศให้ทำงานทั้งวันจะทำให้เปลืองไฟมากกว่า แต่การเปิดและปิดบ่อยๆ ก็ส่งผลเสียต่อตัวเครื่องได้ไม่ต่างกัน ดังนั้นควรเปิดและปิดในช่วงเวลาที่เหมาะสมและไม่บ่อยจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การตื่นขึ้นมาปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงตี 4-5 เพื่อช่วยประหยัดไฟและเป็นการพักการใช้งานของตัวเครื่องก็เป็นอีกวิธีที่อยากแนะนำ

เครื่องปรับอากาศถือได้ว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญและขาดไม่ได้เลยในปัจจุบัน ดังนั้นการใช้งานที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงเรื่องของการบำรุงรักษาและการดูแลให้ถูกวิธี ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดการทำงานของตัวเครื่อง ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้พร้อมกันด้วย



บริหารจัดการอาคาร: ความเข้าใจผิดของการใช้เครื่องปรับอากาศ ยิ่งทำ ค่าไฟยิ่งสูง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/