ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสุขภาพ 10 ชนิด ที่คนดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ควรรับประทาน  (อ่าน 512 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 613
    • ดูรายละเอียด
คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมากสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ทำให้สมองเสื่อม มือสั่น เห็นภาพหลอน ลมชัก มือเท้าชา หรือเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้ความดันโลหิตสูงและเป็นโรคหัวใจ ทำให้ตับอักเสบซึ่งเมื่อเป็นนานๆจะทำให้เกิดตับแข็งและมะเร็งตับ ทำให้ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ทำให้ปวดท้องและผอมลง ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลงและสมรรถทางเพศเสื่อมลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ มีโอกาสเป็นมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ

สำหรับผู้สูบบุหรี่ ก็จะทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้ โรคปอด มะเร็ง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจขาดเลือด การสูบบุหรี่ยังให้คุณแก่เร็ว การสูบบุหรี่ไม่ได้ส่งผลร้ายต่อตัวคุณเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง คนในครอบครัว และคนที่คุณรัก

เนื่องจากผลเสียของแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มีมากกว่าผลดี นอกจากนี้คุณสามารถดูแลสุขภาพด้วยวิธี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 10 ชนิด ต่อไปนี้คือ

1. ข้าวกล้อง มีวิตามินกลุ่มบี ในข้าวกล้องช่วยชดเชยวิตามินกลุ่มบี ที่ร่างกายสูญเสียไป ช่วยบำรุงตับ

ข้าวกล้องมีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สังกะสี เอนไซม์

ข้าวกล้องมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

2. งา มีสารเซซามิน(sesamin )ในงาช่วยย่อยสลายแอลกอฮอล์ ป้องกันอาการเมาค้าง

งามีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียมแคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี

งามีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงตับ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

3. ถั่วลิสง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะนานๆ ควรกินถั่วลิสงที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ซึ่งช่วยขับไขมันออกจากตับ ป้องกันไม่ให้เป็นโรคไขมันพอกตับ

ถั่วลิสงมีสารอาหารได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียม แคลเซียมแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สังกะสี

ถั่วลิสงมีประโยชน์ต่อร่างกายก็คือ บำรุงตับ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

4. กวางตุ้งฮ่องเต้ เส้นใยอาหารในกวางตุ้งฮ่องเต้ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

กวางตุ้งฮ่องเต้มีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก

กวางตุ้งฮ่องเต้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ เพิ่มภูมิคุ้มกัน บำรุงปอด

5. แตงกวา แตงกวามีวิตามินอีที่มีส่วนช่วยในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

แตงกวา มีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินเค แคลเซียม โพแทสเซียม

แตงกวา มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงตับ เพิ่มภูมิคุ้มกัน

6. ฟัก วิตามินซีในฟักช่วยให้เพิ่มภูมิคุ้มกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

ฟักมีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ เส้นใยอาหาร วิตามินซี โพแทสเซียม

ฟักมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

7. มะเฟือง การสูบบุหรี่ทำให้สูญเสียวิตามินซีในร่างกาย ชดเชยวิตามินซีได้ด้วยการกินมะเฟือง

ในมะเฟืองมีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี โพแทสเซียม กรดซิตริก กรดออกซาลิก

มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ เพิ่มภูมิคุ้มกัน บำรุงปอด

8. ถั่วเขียว การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อปอด บรรเทาได้ด้วยการกินถั่วเขียวที่มีวิตามินเอ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบำรุงปอด

ถั่วเขียวมีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ โปรตีน ไขมัน วิตามินเอ วิตามินกลุ่มบี วิตามินซี วิตามินดี โคเอนไซม์คิวเทน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สังกะสี

ถั่วเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงตับ เพิ่มภูมิคุ้มกัน แก้อาการเมาค้าง

9. ตับ ในตับมีแมกนีเซียมจะช่วยบำรุงร่างกาย

ตับมีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โซเดียม โพแทสเซียมแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สังกะสี

มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงตับและปอด ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกัน

10. ปู ซีลีเนียมในปูมีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างแอนติออกซิแดนต์ ช่วยบำรุงปอด ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ

ปูมีสารอาหารที่สำคัญได้แก่ โปรตีน คอเลสเตอรอล วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ซีลีเนียม กรดทอรีน

ปูมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงตับ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

อาหารเพื่อสุขภาพหวังว่า ประโยชน์ของอาหาร 10 ชนิด สำหรับคนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่นี้ ถ้าคุณได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องย่อมช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้ตนเองต่อไปได้อย่างแน่นอน เมื่อกินอาหารที่มีประโยชน์ต้องควบคู่ไปกับพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วย



อาหารสุขภาพ 10 ชนิด ที่คนดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ควรรับประทาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/