การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วย ซึ่งการให้อาหารทางสายยางแกผู้ป่วยนั้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับอาหารที่เหมาะสมกับโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วย อาหารที่จะนำมาให้กับผู้ป่วย จะต้องมีสุขลักษณะที่ดี มีการใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ และต้องควบคุมการผลิตโดยนักโภชนาการ เพราะอาหารจะต้องมีสัดส่วน ปริมาณ และสารอาหารที่เหมาะกับร่างกายของผู้ป่วย รวมถึงอาหารจะต้องเหมาะสมกับโรคด้วย วันนี้เราจะมาแนะนำสูตรอาหารปั่นผสมที่จะให้กับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ซึ่งผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจนั้น ในการให้อาหารทางรูจมูกจะไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะบริเวณจมูกของผู้ป่วยมีเครื่องช่วยหายใจอยู่ โดยแพทย์อาจจะทำการพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทางอื่น เช่น การเจาะบริเวณหน้าท้องเพื่อใส่สายยางให้อาหาร ซึ่งวิธีนี้จะสะดวกและง่ายกว่า เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารและเพื่อรักษาสมดุลของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของผู้ป่วยด้วย ซึ่งการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ถือเป็นเรื่องที่นิยมทำกันมากในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ อันอาจเนื่องจากความรู้สึกเบื่ออาหาร เจ็บป่วยอย่างรุนแรง มีปัญหาการกลืน ระบบทางเดินอาหารไม่สารถทำงานได้ตามปกติ หรือหมดสติไม่รู้สึกตัว ก็อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลถึงการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
สำหรับการดูแลในเรื่องของโภชนาการ อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อการบำบัดและรักษาในขณะที่ร่างกาย เกิดความผิดปกติหรือแปรปรวน จำเป็นต้องมีการเลือกและดัดแปลงอาหาร ซึ่งการให้อาหารปั่นผสมทางสายยางให้อาหาร ก็เป็นวิธีการที่นิยมทำกันมาก เพราะเป็นการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ซ่อมแซมและบำบัด ความผิดปกติหรือแปรปรวนของอวัยวะร่างกายในขณะนั้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจะต้องมีการจัดการในเรื่องของทางเดินหายใจ การใส่ท่อช่วยหายใจจะช่วยเปิดทางเดินหายใจและทำให้เกิดทางเดินหายใจที่แน่นอน ในกรณีฉุกเฉินหากผู้ป่วยไม่ได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้สมองเกิดการขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้การใส่เครื่องช่วยหายใจยังช่วยป้องกันผู้ป่วยจากการสำลักน้ำย่อยและเศษอาหารเข้าปอดด้วย อย่างไรก็ตามความปลอดภัยของผู้ป่วยก็ถือว่าสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางนั้น มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งในเรื่องของการดูแลนั้นจะต้องได้รับความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ
สำหรับอาหารที่จะนำมาให้ผู้ป่วย ต้องมีมาตรฐานเน้นอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบและลักษณะเหมือนกับอาหารธรรมดาที่บริโภคทั่วไป หรืออาจจะนำไปปั่นเพื่อให้อาหารทางสายยางได้สะดวก และควรงดอาหารที่ย่อยยาก อาหารหมักดอง และอาหารที่รสจัด เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยสามารถเลือกอาหารที่รับประทานเองได้ไม่มีข้อห้ามให้ได้ตามที่ผู้ป่วยชอบและสามารถรับได้ ทั้งนี้ในเรื่องของอาหารที่จะนำมาให้ผู้ป่วยนั้น จะต้องมีความสะอาด มีสารอาหารที่ครบถ้วนที่จะเป็นต่อร่างกายผู้ป่วย รวมไปถึงขั้นตอนในการให้อาหารแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องมีความเชี่ยวชาญ และต้องรักษาความสะอาดตั้งแต่การผู้ดูแลจนไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือในการให้อาหาร เพราะหากมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ไม่มีความสะอาด
อาจจะทำให้เกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยได้ เช่น อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องเสีย หรืออาเจียนได้ สำหรับสูตรอาหารปั่นผสม โดยส่วนผสมจะต้องนำมาทำให้สุก จากนั้นจึงกรองเอาส่วนที่ปั่นไม่ละเอียดออก เพื่อให้อาหารสามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้ อาหารปั่นผสมควรมีความเหลวที่พอดี ไม่หนืดจนเกินไป เพราะถ้าหากอาหารมีความหนืดเกินไปอาจจะทำให้สายยางให้อาหารเกิดการอุดตันได้ ปริมาณวัตถุดิบขึ้นอยู่กับความต้องการพลังงานและสารอาหารของผู้ป่วยแต่ละราย ตามที่แพทย์กำหนดอาหารสูตรปั่นผสมเหมาะสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแพ้นมวัว (Lactose intolerance) สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ ตามความชอบของผู้ป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดเตรียมอาหาร แต่สุดท้ายแล้วจะต้องได้คุณค่าครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพื่อเป็นการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง สูตรใช้เครื่องช่วยหายใจ ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/