สำหรับสมาชิกตัวน้อยผู้ทรงอิทธิที่สุดของบ้าน ที่ไม่ว่าจะมุมไหน ห้องไหน ทุกจุดการใช้งาน หากมีเจ้าตัวน้อยอยู่จำเป็นเหลือเกินที่ต้องปรับพื้นที่หรืออุปกรณ์ใด ๆ ให้เหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อลดอุบัติเหตุและเหตุต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ การตกแต่งบ้านจึงเป็นโจทย์ที่บริษัทรับสร้างบ้าน หรือ นักออกแบบทั้งหลายจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยสำหรับเจ้าตัวน้อย
อุบัติเหตุที่มักพบในบ้าน
ในวัยเด็กเล็กอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบ้าน สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายไม่แบ่งเพศ ไม่แบ่งรูปแบบกิจกรรม เพราะเป็นพัฒนาการในช่วงวัยนั้น ๆ ข้อมูลจากเพจโรงพยาบาลพญาไท ได้ให้ข้อมูลอันตรายในบ้านของเด็กวัยเด็กเล็กว่า ส่วนใหญ่จะเกิดจากการพลัดตกจากการปีนป่าย ตู้ เตียง เล่นบันได วิ่งชนหรือโดนหนีบจากประตู หน้าต่าง และอันตรายที่น่ากลัวที่สุดคือ ไฟดูด จึงเป็นอีกชุดข้อมูลที่มีการอ้างอิงที่เหมาะอย่างยิ่งกับบ้านที่มีเด็กเล็กและกำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านเพื่อการแต่งบ้านให้เหมาะและปลอดภัยกับเรา
แต่งบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยกับเด็กเล็ก?
1. บันได
จุดอันตรายที่ต้องติดดาว เพราะความสูง และระดับที่ต่างกัน จึงทำให้ผลลัพธ์ค่อนข้างรุนแรงและอันตราย เราจึงมักจะพบเห็นห้องเด็กเล่นอยู่แค่ชั้นล่าง โดยเลี่ยงการขึ้นลง รวมถึงป้องกันการปีนป่ายขึ้นชั้นบนด้วยการกั้นประตูเล็ก ๆ ที่ทางขึ้นบันได ติดตั้งราวจับในระดับความสูงที่เด็กสามารถจับยึดได้ และเลือกวัสดุกันลื่นร่วมด้วย ที่สำคัญไม่ควรปล่อยเด็ก ๆ ไว้ตามลำพัง
2. ประตู หน้าต่าง
แม้ว่าการติดตั้งหน้าต่างจะสูงเกินระดับส่วนสูงของเด็กๆ แต่การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดของเจ้าหนูอาจจะปีนเปิดปิดเล่นได้เช่นกัน ยิ่งหน้าต่างที่ติดตั้งเป็นบานเกล็ดงัดแงะง่าย ก็เสี่ยงต่ออันตรายที่จะตามมา จึงควรเลือกหน้าต่างที่แข็งแรง กระจกไม่แตกง่าย ไม่มีช่องสำหรับงัดแงะเล่น รวมถึงต้องมีตัวล็อกที่แน่นหนา ส่วนประตูใส ควรติดสัญลักษณ์อย่างสติกเกอร์ลายน่ารักๆ เพื่อให้เด็กได้รู้และระวังป้องกันอุบัติเหตุจากการวิ่งชน
3. ปลั๊กไฟ
ถือเป็นความไม่ปลอดภัยที่สุดของเด็กเล็ก เพราะหากไม่ระวังนั่นหมายถึงการสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตั้งในระดับที่พ้นมือ และจัดหาอุปกรณ์สำหรับปิดเต้าเสียบเมื่อไม่ใช้งาน ม้วนเก็บสายไฟต่าง ๆ ที่มีการต่อพ่วงให้เรียบร้อย รวมถึงเช็กสวิตช์ปิดให้เรียบร้อยเนื่องจากวัยเด็กเล็กเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งการป้องกันเหล่านี้ไม่เพียงแค่ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับเด็ก แต่เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรได้
4. เฟอร์นิเจอร์
ร่องรอยฟกช้ำของนักสู้ฟันน้ำนมส่วนใหญ่จะมาจากการวิ่งชนเฟอร์นิเจอร์หรือการลุกขึ้นลง การมุดเล่นตามวัย ควรระมัดระวังด้วยการหาชุดอุปกรณ์ติดที่มุมโต๊ะเพื่อลบเหลี่ยม และออกแบบให้เฟอร์นิเจอร์อยู่ชิดผนัง เพิ่มพื้นที่วิ่งเล่นให้กว้างขึ้น หมั่นตรวจเช็กความแข็งแรงไม่ให้โยกเยก หรือหากเป็นเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินที่ทางบริษัทรับสร้างบ้านดูแลก็มั่นใจเรื่องวัสดุที่แข็งแรง และการออกแบบลบมุมเหลี่ยมต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยได้
5. ห้องน้ำ
จุดอันตรายของเด็ก ๆ อีกจุดเลยก็คือ ห้องน้ำ แม้ว่าการเข้าออกห้องน้ำจะมีผู้ปกครองดูแลอยู่ตลอดก็ตาม แต่ก็ไม่ควรละเลย เพื่อความปลอดภัย อย่างแรกที่สุดก็คือวัสดุปูพื้นควรกันลื่นหรือแบ่งพื้นที่เปียกแห้งอย่างชัดเจน การออกแบบชั้นวางผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก เพราะน้ำยาต่าง ๆ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต้องระวังเป็นอันตรายได้มากขึ้น ทั้งนี้การระวังอันตรายในห้องน้ำไม่ใช่เฉพาะกับเด็กเล็กเท่านั้น แต่ห้องน้ำยังเป็นอีกจุดที่ควรระวังให้วัยผู้สูงอายุด้วย ดังนั้นบ้านไหนที่มีสมาชิกทั้ง 2 วัย อาจจะต้องวางแผนสร้างบ้านและตกแต่งให้รองรับการใช้งานได้อย่างปลอดภัยสำหรับทุก ๆ วัย
ที่สุดของการออกแบบบ้าน ไม่ได้สมบูรณ์ด้วยการตกแต่งจากเฟอร์นิเจอร์แสนแพงหรือการตกแต่งด้วยโคมไฟนำเข้า แต่ความสมบูรณ์ของการออกแบบบ้านเกิดขึ้นได้ด้วยภาพรวมของความเป็นระเบียบ การจัดเก็บที่เรียบร้อย การหยิบจับใช้สอยอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระยะที่ไม่เป็นอันตราย ยิ่งการออกแบบบ้านเพื่อความปลอดภัยให้เหมาะกับเด็กเล็กแล้วด้วย บริษัทรับสร้างบ้านต่าง ๆ จึงมองภาพรวมเพื่อเน้นให้เหมาะกับผู้อยู่อาศัย และทำให้เด็ก ๆ มีความปลอดภัยมากที่สุด
บ้านสวยโคราช: แต่งบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยกับเด็กเล็ก? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/home1/