ผู้เขียน หัวข้อ: ทำความเข้าใจ โรคไตในผู้หญิง  (อ่าน 56 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 615
    • ดูรายละเอียด
ทำความเข้าใจ โรคไตในผู้หญิง
« เมื่อ: วันที่ 30 กันยายน 2024, 11:49:35 น. »
ทำความเข้าใจ โรคไตในผู้หญิง

ปัจจุบันผู้หญิงกว่า 195 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease: CKD) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 8 ของผู้หญิงทั่วโลก หรือประมาณ 600,000 รายในแต่ละปี และคาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะสตรีวัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้รับการบำบัดทดแทนไตจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก หรือมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ การแท้ง การตกเลือดหลังคลอด ทำให้มีภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้น ผู้หญิงที่เป็นโรคไตก่อนการตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์และวางแผนการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม มาเรียนรู้โรคไตในผู้หญิงอย่างเข้าใจ

โรคไตเรื้อรังในผู้หญิง

     คือ ภาวะที่ไตมีการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไต (estimated Glomerular Filtration Rate: eGFR) ที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15 จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา

สาเหตุของโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง ที่พบได้บ่อยได้แก่

    โรคเบาหวาน
    โรคความดันโลหิตสูง
    โรคไตอักเสบ เช่น IgA nephropathy, Lupus nephritis, FSGS เป็นต้น
    โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic kidney disease)
    โรคไตขาดเลือดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
    โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง
    การได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นระยะเวลานาน เช่น ยา diclofenac

อาการของโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง

    ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางคืน พบได้เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลงในระยะแรก
    ขาบวมและกดบุ๋ม อาจเกิดจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะมาก หากบวมมากจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการมีน้ำคั่งในปอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
    ความดันโลหิตสูง
    คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามร่างกาย อ่อนเพลีย
    อาจมีการขาดประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

อาการของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

     เมื่อการทำงานของไตลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15  จะมีอาการทางระบบอื่นตามมามากขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้จนมีสภาวะขาดสารอาหาร ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สะอึก บวม หอบเหนื่อย อาจมีอาการหอบจากการคั่งของกรดในร่างกาย หากมีอาการมากและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะซึมลง ชักได้

การรักษาโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง

1. การรักษาเพื่อการชะลอการเสื่อมของไต สำหรับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น เช่น

    ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
    การควบคุมอาหาร ลดทานอาหารเค็ม ควบคุมระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส
    การรักษาด้วยยา และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต
    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย

2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต

     คือ กระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

 2.1 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

     วิธีการ นำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรอง เพื่อฟอกเลือดให้สะอาด

     ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง / ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

 2.2 การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)

     วิธีการ ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียทำหน้าที่แทนไต

     ระยะเวลา วันละ 4 รอบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรืออาจใช้เครื่องอัติโนมัติช่วยฟอกทำการเปลี่ยนน้ำยาแทน

 2.3 การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)

     คือ การนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ไปในผู้รับไต โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอตลอดชีวิต ผู้ให้ไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

    ผู้ให้ไตที่ยังมีชีวิต เช่น พ่อ แม่ หรือ ญาติของผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
    ผู้ให้ไตที่เสียชีวิตแล้ว