แผ่นซับเสียง คืออะไร?
- แผ่นซับเสียง คือ แผ่นที่ทำจากเส้นใยต่างๆ เช่น ใยแก้ว ใยหิน ฟองน้ำ หรือโฟม อาจหุ้มผ้าหรือปิดผิวด้วยวิธีการอื่นๆ ใช้สำหรับดูดซับเสียง (Sound Absorption) คือ ดูดซับเสียง เมื่อเสี ยงมาตกกระทบจะดูดซับเสียงนั้น ไม่ให้สะท้อนกลับ
- ใช้สำหรับ ติดตั้งที่ผนังหรือฝ้าเพดาน เพื่อซับเสียงภายในห้อง ป้องกันเสีนงก้อง สะท้อน Echo
แผ่นซับเสียง ไม่เหมาะสำหรับได้ใช้ในการกันเสียง!! ต่อให้นำมาติดตั้งทั่วบริเวณผนัง ก็ไม่ได้ช่วยให้กันเสียงดีขึ้นเท่าที่ควร
ฉนวนกันเสียง คืออะไร?
ฉนวนกันเสียง คือ แผ่นฉนวนทำจากเส้นใยต่างๆ วัสดุหลักเหมือนกันกับแผ่นซับเสียง แต่ส่วนผสม ความหนาแน่น วัสดุหุ้ม และรูปแบบแผ่น จะแตกต่างกับแผ่นซับเสียง
ใช้สำหรับ ติดตั้งที่ผนังกำแพง เพื่อให้ผนังนั้นๆกันเสียงได้ดีขึ้น สามารถนำมาติดตั้งที่เพดานได้เช่นกัน
แผ่นซับเสียงใช้ลดเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้อง ส่วนฉนวนกันเสียงใช้ติดตั้งใส่ในผนังเพื่อให้ผนังกันเสียงเข้า – ออกห้อง
สรุป
ติดตั้งไปแล้ว จะใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับรูปแบบห้อง วัสดุที่นำมาใช้ทำแผ่นซับเสียง และการติดตั้งที่ได้วางแผนวิเคราะห์คำนวณออกมาแล้ว การติดตั้ง และให้ใช้งานได้ทั้ง กันเสียงก้อง เสียงสะท้อน และกันเสียงเข้า – ออก ก็เช่นเดียวกัน ฉนวนกันเสียงบางรุ่นสามารถทนทานต่อไฟไหม้ได้ด้วย
ไอเดียสำหรับห้องสตูดิโอของตัวเอง
ทุกวันนี้จะสังเกตุได้ว่าค่ายเพลงได้มีหลากหลายมากมายนักหรือกระทั่งห้องสตูดิโอเพื่อทำเพลงเองก็เช่นเดียวกันและสามารถทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน ที่ทำงาน ศิลปินหน้าใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นกันมากมาย โดยเกิดคำถามขึ้นมันการทำเพลงมันง่ายขนาดนั้นเลยหรอ แล้วห้องบันทึกเสียง หรือห้องสตูดิโอที่ดีที่ควรจะเป็นยังไงกัน วันนี้มี “3 ไอเดีย สำหรับท่านที่คิดจะมีห้องสตูดิโอเป็นของตัวเอง” มาแชร์ประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ แล้วกันนะครับ และเผื่อนำไปต่อไอเดียให้กับทุกท่านที่คิดจะมีสตูดิโอเป็นของตัวเอง พร้อมแล้วมาลุยกันเลยครับ
1. ห้องสตูดิโอที่ถูกต้อง และเป็นมืออาชีพ
สำหรับท่านที่คิดจะมีห้องสตูดิโอเป็นของตัวเอง ห้องสตูดิโอมีกี่แบบกันนะ แบ่งออกให้เห็นภาพกันแบบง่ายๆ สามแบบแล้วกันนะครับ จะได้มองภาพออกแบบง่ายๆ
ห้องสตูดิโอแบบถูกต้อง แน่นอนว่าทุกอย่างจะต้องเป๊ะและให้ความเป็นมืออาชีพสูง ตามหลักของห้องสตูดิโอที่น่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นอคูสติกห้องหรือการเก็บเสียงทุกอย่างก็จะถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ซึ่งในจุดนี้ก็ค่อนข้างจะมีรายละเอียดพอสมควร เช่น ในเรื่องของผนังห้อง เพดานห้อง พื้นห้อง วัสดุซับเสียงต่างๆ ก็มีความสำคัญที่จะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของงาน ซึ่งในห้องสตูดิโอแบบแรกนี้ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆครับ
ส่วนที่หนึ่ง ในส่วนนี้จะเป็นพื้นที่ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เช่น มิกเซอร์ โปรเซสเซอร์ต่างๆลำโพงมอนิเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ก็ควรกว้างพอที่ ให้ซาวด์เอ็นจิเนียและโปรดิวส์เซอร์สามารถนั่งทำงานได้ไม่อึดอัด
ส่วนที่สอง ก็คือห้องสำหรับบันทึกเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง เสียงกลอง กีต้าร์ และเครื่องดนตรีอื่นๆซึ่งในห้องนี้ควรมีเสียงรบกวนที่ต่ำมากๆเท่าที่จะทำได้ หรือเงียบเป็นพิเศษซึ่งก็จะเป็นเรื่องของเทคนิคที่จะทำให้ห้องนี้มีเสียงรบกวนที่ต่ำที่สุด
2. ห้องสตูดิโอที่ดี
ห้องสตูดิโอแบบที่ดี ห้องสตูดิโอแบบนี้เป็นอย่างไร ห้องสตูดิโอแบบนี้จะให้ความเรียบง่ายและมีอิสระในการดีไซน์ แต่สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน เช่นห้องว่างของบ้านสักสองส่วนเนรมิตเป็นห้องสตูดิโอ หรือจะไปเนรมิตทำสตูดิโอในสวนที่เราสามารถจัดให้สวยงามตามใจชอบ และท่ามกลางเมฆไม้ที่เราสามารถมองเห็นเพื่อจะทำให้ผ่อนคลายและเพิ่มความสดชื่นและเพิ่มไอเดียในการทำงานมากยิ่งขึ้น และเน้นแสงจากธรรมชาติเป็นตัวช่วยให้ความสว่าง
อาจจะดูแปลกสักนิด แต่ก็เพื่อลดความกดดันและให้อิสระและเพิ่มฟีลลิ่งในการทำงานของทุกฝ่ายเพิ่มขึ้น ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน
3. ห้องสตูดิโอแบบ All in one หรือแบบรวม
แบบ All in one หรือห้องรวมมิตร ห้องสตูดิโอแบบนี้ค่อนข้างตอบโจทย์สำหรับท่านที่มีงบจำกัด ที่ไม่สามารถสร้างห้องเป็นสัดส่วนเหมือนแบบที่ 1 และ 2 อาจจะด้วยงบหรือพื้นที่ขนาดจำกัด อาจจะเลือกห้องใดห้องหนึ่งของที่บ้านมาจัดแจงให้เป็นสตูดิโอที่ต้องการ โดยทั้งอุปกรณ์ควบคุมเสียงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างๆอยู่รวมกัน รวมทั้งเป็นสถานที่บันทึกทั้งเสียงร้องและดนตรีด้วย ซึ่งแบบที่สามนี้ก็ได้รับความนิยมค่อนข้างมากเลยทีเดียวในยุคปัจจุบันนี้
สำหรับแนวคิดสำหรับการออกแบบห้องสตูดิโอและเทคนิคสำคัญมีดังนี้ครับ
ทำไมจะต้องพิถีพิถันในการออกแบบห้องสตูดิโอ ก็เพื่อผลรับฟังที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพื่อให้ทุกย่านความถี่เสียงโดยจะไม่ลดหรือมีย่านความถี่ใดเกิดการบวมของความถี่เสียง เพื่อให้ได้ความบาลานซ์และสมดุลมากที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วัสดุซับเสียง และการดีไซน์หลักการสะท้อนของเสียงที่ถูกต้องอีกด้วย
ห้องทั่วไปที่ทำห้องสตูดิโอจะมีผนังและพื้นรวมถึงเพดานที่ขนานกัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงก้องวิ่งวนไปมา เรียกเสียงแบบนี้ว่า สแตนดิ้งเวฟ และหากเสียงก้องนี้เกิดการค้างของความถี่เสียงที่นานขึ้นเรียกว่า เรโซแนนซ์
เทคนิคการปรับห้องที่ดีและมีประสิทธิภาพรวมถึงเพดานห้อง ควรปรับผนังของแต่ละด้านให้มีความลาดเอียงไม่ให้ขนานกันและไม่เท่ากันหรือจะทำให้เกิดการหักมุมไปมาเหมือนฟันปลาหรือใบเลื่อย ส่วนเพดานก็ควรให้มีความลาดเอียงเช่นกัน ส่วนพื้นก็ให้ราบเรียบเหมือนเดิมได้ การทำแบบนี้ก็เพื่อลดปัญหาที่กล่าวไปแล้วนั้นเอง นี่ก็เป็นเทคนิคง่ายๆคร่าวๆเบื้องต้นที่แนบท้ายในบทความนี้ครับ
แผ่นซับเสียง VS ฉนวนกันเสียง ต่างกันอย่างไร ? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/