ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีตรวจสอบว่า “บ้านคุณไฟรั่วหรือไม่?“  (อ่าน 1266 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 604
    • ดูรายละเอียด
ในยุคนี้การใช้ไฟฟ้าคือส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยและคนทั้งโลกไปแล้ว แทบทุกบ้านจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ชีวิตสามารถดำรงต่อไปได้อย่างปกติสุข แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่การใช้ไฟฟ้าหากไม่มีการตรวจสอบหรือรู้จักวิธีดูแลให้ดี โอกาสที่จะทำให้เกิดไฟรั่วจนสร้างอันตรายให้กับคนในบ้านหลังนั้นก็มีสูงไม่น้อย หากคุณคือคนหนึ่งที่ไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับบ้านและคนในครอบครัวของตนเอง เราจะมาแนะนำ 5 วิธีตรวจสอบว่าเวลานี้บ้านคุณมีปัญหาเรื่องของไฟรั่วหรือเปล่า ถ้าพบว่ามีจะได้รีบจัดการแก้ไขให้เรียบร้อย มาดูว่าวิธีที่จะบอกมีวิธีอะไรบ้าง


1.เริ่มต้นง่าย ๆ จากปลั๊กไฟก่อนเลย – ปลั๊กไฟถือเป็นจุดสำคัญที่มีโอกาสทำให้ไฟไหม้ภายในบ้านได้สูง เนื่องจากกรอบนอกของปลั๊กส่วนใหญ่เป็นพลาสติก หากภายในเกิดไฟรั่วแล้วเจอกับชนวนนำไฟฟ้าอย่างพลาสติกคงไม่ต้องคิดกันต่อว่ามันจะรุนแรงมากขนาดไหน วิธีตรวจสอบปลั๊กไฟง่าย ๆ คือให้ดูทุกปลั๊ก ทุกเต้ารับว่ายังคงใช้งานได้ดีเหมือนเดิมอยู่หรือไม่ อาจใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กบางตัวเสียบแล้วเปิดใช้งาน หากปลั๊กไหนใช้ไม่ได้ ควรรื้อออกมาตรวจสอบว่าเกิดจากอะไรแล้วทำการซ่อมแซมแก้ไขให้เรียบร้อย แต่ถ้าเป็นปลั๊กต่อ เช่น ปลั๊กสามตา จะมีปลั๊กรูที่ 3 สำหรับเชื่อมต่อสายดินหากเกิดไฟรั่วจริง ๆ จะได้ไหลลงดินไป กระนั้นก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ารูของปลั๊กที่ใช้เสียบปลั๊ก 3 ตานั้นต่อเข้ากับสายดินหรือไม่


2.ตามด้วยการตรวจสอบสายไฟทุกเส้น – เมื่อปลั๊กไม่มีปัญหาอะไรแล้วก็ตามมาด้วยตรวจสอบสายไฟ นี่คือส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ธรรมชาติของสายไฟมาตรฐานสามารถใช้งานได้กว่า 10 ปี แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าทุกเส้นจะต้องมาตรฐานเดียวกันเสมอไป วิธีตรวจเช็คง่าย ๆ ว่าสายไฟชำรุดจนทำให้เกิดไฟรั่วหรือไม่คือดูปลอดหุ้มที่เป็นยางของตัวสายไฟ ถ้าแตกหรือขาดจนเห็นสายทองแดงด้านในควรเปลี่ยนทันที เพราะนั่นหมายถึงยังไงไฟก็รั่วแน่ ๆ ส่วนกรณีสายไฟที่ติดตั้งบนเพดานหรือฝาผนังก็ควรมีการไล่ตรวจสอบเป็นประจำด้วย หากเกิดเหตุจริง ๆ ต่อให้มี ไซเรนมือหมุน เรียกคนอื่นก็คงไม่ช่วยอะไร


3. มิเตอร์ไฟฟ้า อีกจุดที่ถูกมองข้าม – มิเตอร์ไฟฟ้าที่เราเห็นกันตามเสาไฟฟ้าหน้าบ้านเราอาจไม่ได้ไปใส่ใจหรือสนใจอะไรมากนัก แถมบางพื้นที่ยังมีการนำ แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ หรือ กรวยจราจร ไปตั้งบังเอาไว้ไม่ให้รถชน บางจุดที่เป็นมุมถนนอาจมีการติดตั้ง กระจกโค้งจราจร ตรงเสาไฟฟ้าด้วยซ้ำ ทว่าจริง ๆ แล้วหากบ้านของเราตรงกับมิเตอร์ไฟฟ้าของเสาต้นไหนควรตรวจสอบให้เรียบร้อย วิธีง่ายมากให้ลองปิดระบบไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านเรา รวมถึงถอดปลั๊กทุกอย่าง ถ้าหากมิเตอร์ไม่หมุนเลย แสดงว่าอาจเกิดไฟรั่วภายในบ้านจุดใดจุดหนึ่งแน่ ๆ ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญหรือถ้าพอดูเป็นก็ตรวจสอบเลยว่ามีจุดไหนที่เกิดการรั่ว อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายกับคนในบ้าน


4.คัตเอาท์หรือตัวตัดไฟภายในบ้านอย่าลืม – เชื่อว่าหลายบ้านเป็นเหมือนกันคือบริเวณคัตเอาท์หรือเบรกเกอร์ในบ้านจะถูกเปิดเฉพาะเวลาไฟตัดเท่านั้น แต่ในความจริงคือต้องตรวจสอบกันบ่อย ๆ เพราะเราไม่รู้ว่าในตู้นั้นมีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เช่น มีสัตว์เข้าไปทำรัง, ปลอกสายไฟขาดแหว่ง ฯลฯ วิธีตรวจสอบง่ายมากหากเปิดไปแล้วพบว่าสายไฟในตู้ไม่เหมือนเดิม เช่น ขาดลอก, พันกันยุ่งเหยิง ควรตามช่างไฟมาตรวจสอบพร้อมจัดการซ่อมแซมแก้ไขทันที สายไฟเส้นไหนต้องเดินใหม่ก็ควรทำ เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เกิดไฟรั่วในบ้านของเรา


5.ปิดท้ายที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน – เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยนี้มีด้วยกันหลายชนิดมาก แต่ละบ้านเองต่ำ ๆ ก็ต้องมีโทรทัศน์, พัดลม, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า, ไมโครเวฟ เป็นต้น วิธีง่ายมาก ๆ สำหรับการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ว่ามีไฟรั่วหรือไม่ให้เรานำไขควงวัดไฟจิ้มสัมผัสไปกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่เป็นโลหะซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ด้วย หากใช้ไขควงวัดไฟไปแล้วปรากฏเครื่องใช้นั้นมีไฟเดินอยู่ตลอดหรือโลหะใกล้ ๆ มีไฟฟ้าอยู่ภายในนั่นแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดไฟรั่วภายในเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ อย่าพยายามเอามือเปล่าไปสัมผัส หากไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าแนะนำให้เรียกช่างไฟหรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาช่วยเหลือดีกว่า บางคนไม่รู้พอจับไปก็เกิดไฟช็อต ไฟดูด ได้รับบาดเจ็บไปอีกแทนที่จะได้ใช้งาน

ทั้ง 5 วิธีนี้ถือว่าเป็นการตรวจสอบปัญหาไฟรั่วภายในบ้านของทุกคนได้เลย เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ตอนแรกอาจยังไม่ต้องไปจ้างช่างไฟมาดูให้ทั่วบ้าน เพราะเราสามารถเช็คพร้อมตรวจสอบด้วยตนเองแบบง่าย ๆ ทั้งนี้หากใครไม่ชัวร์หรือไม่มั่นใจก็อาจใช้บริการผู้เชี่ยวชาญหรือช่างไฟฟ้ามาดำเนินการให้ก็ได้เช่นกัน หวังว่าทุก ๆ คนจะปลอดภัยจากปัญหาไฟรั่วภายในบ้านเมื่ออ่านบทความนี้จบ เป็นการเพิ่มข้อมูลความรู้ที่หลายคนไม่เคยรู้วิธีตรวจอาการไฟรั่วอย่างถูกต้องเลย



ซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีตรวจสอบว่า “บ้านคุณไฟรั่วหรือไม่?“ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/