ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ก่อนสร้าง! กฎหมายอาคาร ฉบับเข้าใจง่ายที่เจ้าของบ้านควรรู้  (อ่าน 188 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 616
    • ดูรายละเอียด
การวางแผนสร้างบ้าน สิ่งสำคัญคือเจ้าของบ้านต้องรู้กฎหมายอาคาร เพราะกฎหมายอาคารมีไว้เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและคนอื่นๆ ในชุมชน กฎหมายอาคารยังช่วยควบคุมคุณภาพของอาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบ แต่ข้อกำหนดของกฎหมายอาคารจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เราได้สรุป กฎหมายอาคาร แบบฉบับที่เจ้าของบ้านเข้าใจง่าย และควรรู้ มาไว้ให้แล้วค่ะ

 
สรุปกฎหมายอาคาร ฉบับเข้าใจง่าย

1. การสร้างบ้านชิดรั้ว ต้องมีการเว้นระยะ

การสร้างบ้านต้องมีการเว้นระยะร่นห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร สำหรับผนังบ้านทึบมีความสูงไม่ถึง 15 เมตร ถ้าต้องการสร้างจนชิดแนวเขตรั้ว จำเป็นต้องให้เพื่อนบ้านเซ็นเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เด็ดขาด แต่ถ้าพื้นที่ใช้สอยของบ้านรวมแล้วเกิน 300 ตารางเมตร ต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร โดยรอบทุกกรณี และต้องติดตั้งรางน้ำฝนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง


2. ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้ว

กรณีที่ผนังบ้านมีประตู หน้าต่าง กฎหมายสร้างบ้านระบุไว้ว่า ตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 ชั้น ต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 3 เมตร ขนาดของที่ดินเป็นตัวกำหนดจำนวนชั้นของบ้าน เพราะหากที่ดินมีขนาดเล็กแต่พอเว้นระยะห่างชั้น 3 จากรั้วบ้านทุกด้าน ปรากฏว่าเหลือพื้นที่ใช้งานน้อยเกินไปนั่นเอง


3. ไม่สามารถสร้างบ้านเต็มพื้นที่ได้

หลายคนอาจไม่รู้ว่า เราไม่สามารถสร้างบ้านจนเต็มที่ดินได้ ตามกฎหมาย ขอบเขตของตัวบ้านต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 70% ของที่ดิน โดยตัวบ้านจะเอียงฝั่งขวา หรือซ้าย หรือด้านหลังก็ได้ ด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ ส่วนอีก 30% จัดสรรเป็นพื้นที่อื่นๆ เช่น จัดสวน ปลูกต้นไม้ เป็นต้น


4. ต้องเว้นระยะห่างกับถนนสาธารณะ

ตามกฎหมายสร้างบ้านกำหนดว่า ตัวบ้านต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตรโดยวัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร  ไม่สามารถสร้างล้ำเส้นถนนสาธารณะ


5. ที่ดินชิดถนนหักมุมจะต้องปาดแนวรั้วด้านละ 4 เมตร

หากที่ดินมีลักษณะชิดหักมุม จะต้องสร้างบ้านให้ปาดแนวรั้วด้านละ 4 เมตร ส่วนบ้านอยู่ติดมุมถนนที่มีมุมหักถนน 2 ด้านน้อยกว่า 135 องศาและถนนกว้าง 3 เมตรขึ้นไป จะต้องปาดมุมรั้วด้านละ 4 เมตร เพื่อไม่ให้รั้วบ้านหรือกำแพงบังทัศนวิสัยการมองเห็นของผู้ขับขี่รถยนต์ โดยที่ดินส่วนถูกปาดมุมรั้วออกไปนั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้านอยู่เช่นเดิมไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ
 

6. ห้องต้องมีหน้าต่างหรือช่องแสง

แต่ละห้องต้องมีหน้าต่างหรือช่องแสงกำหนดพื้นที่ใช้งานให้เป็นสัดส่วน และต้องมีพื้นที่สำหรับระบายอากาศ ไม่ว่าจะเป็นประตู หน้าต่าง ช่องลม หรือ ช่องแสง รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ในห้องนั้นๆ หากจะสร้างห้องทึบไม่มีช่องระบายอากาศเลยหรือน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ถือว่าผิดกฎหมายอาคารทันที


7. ห้องนอนต้องมีพื้นที่ใช้งาน

พื้นที่ห้องนอนจะต้องมีขนาดพื้นที่ใช้งานควรไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร และมีด้านแคบสุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร จะต้องมีขนาดที่กว้าง ไม่อึดอัด โปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก


8. ขนาดห้องน้ำและฝ้าเพดาน

สำหรับห้องน้ำที่บริเวณอาบน้ำและห้องส้วมแยกกัน ควรมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 0.90 ตารางเมตร หากใช้พื้นที่ร่วมกัน ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.50 ตารางเมตร ฝ้าเพดาน ความสูงจากพื้นห้องน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 2 เมตร  ถ้าใครต้องการสร้างห้องน้ำใต้บันไดต้องคำนวณความสูงของเพดานห้องด้วย หากพื้นที่ตรงนั้นมีเพดานด้านที่สูงน้อยที่สุดไม่ถึง 2 เมตรก็ไม่สามารถทำเป็นห้องน้ำเพื่อใช้งานได้


9. ขนาดของบันไดบ้าน

บันไดบ้านควรกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ละช่วงความสูงไม่เกิน 3 เมตร ถ้าสูงกว่านี้ต้องมีชานพักบันได ซึ่งต้องมีระยะห่างแนวดิ่งหรือความสูงจากบันไดอีกชั้นไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร เพราะชานพักบันไดจะช่วยลดและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดกับคนในบ้านได้


10. การติดเหล็กดัด

บ้านส่วนใหญ่จะติดเหล็กดัด เพื่อป้องกันขโมย ต้องมีช่องเปิดด้วยในกรณีที่บ้านติดเหล็กดัด ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป เว้นช่องว่างไม่น้อยกว่า 60 x 80 เซนติเมตร รวมไปถึงลูกกรงหรือสิ่งอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกันด้วย เพื่อให้เปิดเข้าออกได้ หากเกิดไฟไหม้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะได้เข้าไปในบ้านหรืออาคารได้สะดวก ไม่เป็นอุปสรรค


การสร้างบ้านสักหลัง เราต้องรู้เรื่องของ กฎหมายอาคาร ให้เข้าใจเสียก่อน หลายคนคิดว่า เจ้าของบ้าน ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของวิศวกร สถาปนิก หรือ บริษัทรับสร้างบ้าน เป็นผู้ดำเนินการเรื่องการออกแบบก่อนสร้างให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ แต่หากเราเรียนรู้และศึกษาดีๆ เรื่อง กฎหมายอาคาร ก็ไม่ยากเกินที่เราจะเข้าใจ

รู้ก่อนสร้าง! กฎหมายอาคาร ฉบับเข้าใจง่ายที่เจ้าของบ้านควรรู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/